วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันปีใหม่

                                



           วันที่ ๑ มกราคม ทุกคนทั่วทุกมุมโลกต่างรู้กันดีว่า เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่จะมีกี่คนที่จะรู้ว่า "กว่าจะกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ที่ตรงกันทั่วโลกนั้นมีประวัติศาสาตร์อันยาวนาน" ทั้งนี้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า
     " ปี" ไว้ว่า "เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ๓๖๕ วัน  หรือ เวลา ๑๒ เดือนตามสุริยคติ"
     นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือสุริยปฏิทินพันปี บอกว่า แทบไม่น่าเชื่อว่าบรรพชนในอดีต ที่วันๆสาละวนอยู่กับการหาอยู่หากินตามธรรมชาติ อาวุธประจำกายที่วิเศษสุดก็คือขวานหินอันเดียว สามารถสร้างปฏิทินจากดวงดาวอันไกลโพ้น ตามหลักฐานทางโบราณคดีท่านเหล่านั้นรู้จักปฏิทินก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร พวกเขาใช้ข้อมูลดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือในการกำหนดช่วงเวลา โดยอ้างอิงกับสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้าได้แก่ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และแม้กระทั่งดาวฤกษ์ ใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เรียงตัวกันเป็นสัญลักษณ์ เช่น กองหินลึกลับ สโตนจ์เฮ้นจ์ (Stonehenge) ที่ประเทศอังกฤษ



ความหมาย
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ 

ความเป็นมา
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน 
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา 

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
Happy New Year
กิจกรรมในวันปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย
การทำบุญตักบาตร

การแลกของขวัญ











































วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รักพ่อที่สุดในโลก





รักพ่อที่สุดในโลก

              พ่อผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา                          พ่อผู้เฝ้าดูแลเอาใจใส่
           พ่อผู้คอยอุ้มชูเราด้วยใจ                               พ่อผู้ไม่เคยเหินห่างจากเราไป
          พ่อผู้คอยปลอบโยนยามเราเศร้า                   พ่อผู้คอยขัดเกลาไม่ไปไหน
          พ่อผู้คอยดูแลอยู่ใกล้ใกล้                              พ่อผู้มอบดวงใจให้แก่เรา





ในชีวิตหนึ่งๆของคนเรา จะมีสักกี่คนที่จะรัก และทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิตให้กับเรา ห่วงใยเรา ดูแลเรา ให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่เรา ให้ชีวิตแก่เรา



ยามที่เราเกิดมาพ่อให้กำลังใจให้เรามีชีวิตรอดออกมา พ่อคุยกับเราแม้จะฟังเราพูดไม่รู้เรื่อง พ่อคอยปลอบโยนเรายามที่เราร้องไห้หวาดกลัว พ่อคอยป้อนน้ำป้อนข้าวให้เรายามที่เราหิว พ่อต้องตื่นมายามดึกดื่นเพื่อดูว่าเราหลับดีหรือเปล่า พ่อต้องทำงานตรากตรำเพื่อหาเงินมาให้แก่เรา พ่อต้องตื่นแต่เช้ากลับบ้านดึกเพื่อเรา พ่อต้องทำตามสิ่งที่เราบอกเราต้องการ พ่อหาทุกสิ่งทุกอย่างมาให้แก่เรา พ่อคอยรับส่งเราไปโรงเรียนทุกวัน พ่อคอยดุว่าเราตีเรายามที่เราดื้อดึง พ่อต้องร้องไห้อยู่ในใจยามที่ดุว่าเรา พ่อดูแลเอาใจใส่เราทุกอย่าง พ่อแม้ยามป่วยก็ยังห่วงใยเรา พ่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่เรา




พ่อผู้ซึ่งเป็นผู้นำของครอบครัว ผู้ซึ่งเป็นบุคคลที่จะต้องนำพาครอบครัวฝ่าฟันอุปสรรค ภัยอันตราย ให้รอดพ้นไปให้ได้ ผู้ซึ่งคอยโอบอุ้มครอบครัวให้มั่นคง อุ้มชูฟูฟักครอบครัวให้ปลอดภัย ทั้งยังต้องคอยให้กำลังใจแก่ครอบครัวยามที่ครอบครัวท้อแท้ ยามพ่อกังวลพ่อก็ต้องทำเป็นปกติ ยามพ่อกลุ้มพ่อก็ต้องแอบไปนั่งคิดคนเดียว ยามพ่อทุกข์พ่อก็ต้องฝืนยิ้ม ยามพ่อป่วยพ่อก็ต้องทำเป็นสบาย ทั้งหมดนี้พ่อไม่ได้ทำเพื่อใครอื่น พ่อทำเพื่อเราทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้เราไม่สบายใจไปกับท่าน เพื่อให้เรามีความสุข  



      พ่อจึงมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เพราะท่านเป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ให้ ไม่ว่าท่านจะเป็นพ่อแท้ๆของเรา หรือพ่อแผ่นดิน ท่านก็ยังเป็นพ่อ พ่อที่มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลลูกๆ ให้ลูกๆของท่านมีความสุข สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งที่ท่านทำไปนั้นไม่ใช่เพียงเพราะเป็นหน้าที่ของพ่อ แต่ยังเป็นเพราะความรักของพ่อที่มีให้แก่ลูก













   

                     




นางสาว บัณฑารีย์   ไกรสุวรรณ  เลขที่ 19 .4/8